แนวคิดในการสร้างผลงาน ของ โรเบิร์ต สมิธสัน

แนวคิดลัทธิจุลนิยม

สมิธสันเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงศิลปะที่มีชื่อเสียงจากการทำงานแนว แอ๊บสแตร็ก เอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ และ มินิมอลลิสม์ และเป็นที่รู้จักในฐานะ โพสมินิมอลลิสต์ แม้ว่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากการใช้วัสดุทางอุตสาหกรรมในการสร้างงานจุลนิยม และความน่าสนใจในประสบการณ์ที่ผู้ชมจะได้รับจากงานศิลปะและวัตถุ แต่สมิธสันก็ละทิ้งมุมมองของศิลปะแบบดั้งเดิม ผลงานของสมิธสันเป็นงานที่มีแนวทางเป็นต้นแบบของงานในกลุ่มนี้ เขาสร้างประติมากรรมจากเศษวัสดุต่างๆ และสอดแทรกแนวทางที่ทำให้ผู้เข้าชมงานเข้าใจได้ยาก (มักจะด้วยการใช้กระจก หรือขนาดที่น่าสับสน) ในบางงานของเขาก็อ้างอิงถึงสถานที่ภายนอก และผลงานที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในแกลลอรี่ เป็นการตั้งคำถามแก่ผู้ชมงานว่า แท้จริงแล้วศิลปะวัตถุต่างๆนั้นควรจะตั้งอยู่ในที่ใด [8]

แนวคิดเอนโทรปี

ผลงานส่วนมากของสมิธสันทำขึ้นโดยผ่านแนวคิดที่เขาสนใจ เกี่ยวกับ เอนโทรปี กฏข้อที่สองของระบบอุณหภูมิศาสตร์ ที่ทำนายถึงความเสื่อมและการล่มสลายของระบบต่างๆ [9] กล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างจะกลับสู่สภาวะเดิมของมัน หากเปรียบเทียบกับระบบทุนนิยมในโลกปัจจุบัน ที่มีการผลิตซ้ำอยู่เรื่อยๆ ทำให้คุณค่าของสินค้านั้นๆลดลง จนเสื่อมไปในที่สุดเช่นเดียวกับแนวคิด เอนโทรปี แนวคิดนี้ยังเป็นการแสดงทัศนะคติของเขาเกี่ยวกับวัฒนธรรม และอารยธรรม จากในบทความเรื่อง เอนโทรปี และอนุสาวรีย์ใหม่ ของสมิธสัน ในปี 1969 แสดงการเปรียบเทียบระหว่าง เหมืองแร่ แถบห้าง และแถบที่อยู่อาศัยในนิวเจอร์ซี และเป็นการบอกเป็นนัยๆว่า ในที่สุดทุกสิ่งจะแตกดับลงและกลายเป็นซากปรักหักพัง[10]

แนวคิดไซท์และนันไซท์

นอกจากนี้ สมิธสันยังเป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า ไซท์ หรือ ศิลปะเฉพาะที่ และ นันไซท์ เพื่อบอกถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่ภายนอก(ไซท์) และภายในแกลลอรี่(นันไซท์) งานประเภทนันไซท์ สร้างส่วนมากในช่วงปี 1968[11] เป็นการนำวัสดุที่เก็บได้จากสถานที่ต่างๆใส่กล่องเหล็ก และนำมาตั้งไว้ในแกลลอรี่ โดยมีแนวคิดที่ใกล้เคียงกับมินิมอลลิสม์ คือลดทอนสัดส่วนของงานให้เล็กลง และอยู่ให้ในรูปเรขาคณิต

ใกล้เคียง

โรเบิร์ต สายควัน โรเบิร์ต สมิธสัน โรเบิร์ต เอิร์นชอว์ โรเบิร์ต แพตตินสัน โรเบิร์ต แม็กนามารา โรเบิร์ต บอยล์ โรเบิร์ต อี. ลี โรเบิร์ต กัมปิน โรเบิร์ต เซเม็กคิส โรเบิร์ต แวดโลว์